ขับเคลื่อนโดย Blogger.
วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

น้ำฟักข้าว

ฟักข้าว น้ำฟักข้าว ผลิตภัณฑ์อันทรงคุณค่าจากฟักข้าว สารต้านอนุมุลอิสระอันมหาศาล ที่ทุกๆคนต้องรู้ และห้ามพลาดที่จะได้ลิ้มลอง

 
อ่าน: 1587 ฟักข้าวมีมากจากชมชุนปกติ ในที่นี้ก็เหมือนกัน  ต้องเข้าไปดงหลวงเพราะงานที่ทำช่วง ปิดโครงการ เลยหยิบเอาข้อมูลเรื่องฟักข้าวไปสอบถามชาวบ้าน ได้ข้อมูลจากอาว์เปลี่ยนว่าไปถ่ายรูปผลฟักข้าวมาจากบ้านพ่อชาดี เสร็จงานก็เลยไปดูซะหน่อย


ตรงไปบ้านพ่อหวัง เจอะแม่บ้านและลูกสาว ผมเอารูปที่อาว์เปลี่ยนให้ดู ลูกสาวก็บอกเลยว่าลูกฟักข้าว กินอยู่ มีที่สวน ปีนี้ออกลูกเดียว พร้อมทั้งชี้ไปที่ต้นไม้ของบ้านเพื่อนบ้าน นั่นไงต้นฟักข้าว เลื้อยพันจนไม่เห็นต้นไม้ที่เขาอาศัยเลย กำลังออกลูกส้มๆ


เราเลยไปบ้านพ่อชาดี ตามที่อาว์เปลี่ยนให้ข้อมูล พ่อชาดีนอนหลับก็เลยไปคุยกับศรีภรรยาพ่อชาดี ผมยื่นรูปให้ดู แม่บอกว่านั่นไง ต้นอยู่นั่นไง พร้อมชี้ให้ดู และเดินนำทางเราไปหลังบ้านซึ่งเป็นสวนเกษตรผสมผสานที่พ่อชาดีสร้างมันขึ้นมา กับมือ โฮ..หนึ่งสอง สาม สี่ ลูก มีทั้งเหลืองส้มและส้มแดงแก่แล้ว เลยคุยกับแม่ว่าเอามากินไหม แม่ก็บอกว่ากิน เอาลูกอ่อนมาต้มจิ้มน้ำพริก ออกขมนิดๆ เอายอดมาแกง แต่คนไม่ค่อยชอบเท่าไหร่เมื่อเทียบกับหวาย คนชอบหวายมากกว่า ทั้งที่หวายขมกว่า..

เด็กๆเอาลูกสุกมากินเหมือนกัน แต่ไม่ชอบมากเหมือนผลไม้อื่นๆ


เมื่อผมเอาสรรพคุณที่เป็นเอกสารที่เตรียมไปเผยแพร่ให้พี่น้องไทบรูได้เรียนรู้ แม่ก็ว่า เออ ถ้ารู้อย่างนี้ก็จะบอกพ่อชาดีเขา…

ฟักข้าวเป็นพืชพื้นบ้านทั่วไป ชาวบ้านรู้จัก แต่ไม่นิยม เท่าที่ผมตรวจสอบความรู้นั้น ชาวบ้านไม่รู้จักสรรพคุณทางยาของฟักข้าว รู้เพียงว่ามันกินได้ ผมคิดว่าแม้ชาวบ้านจะรู้จักสรรพคุณยาในพืชผักหลายชนิด แต่ก็มีพืชอีกหลายตัวที่ชาวบ้านไม่รู้จักสรรพคุณทางยา นี่ก็น่าจะเป็นงานในการพัฒนาชุมชนที่สำคัญหนึ่ง

ปัจจุบันก็ทำกันบ้าง เครือข่ายไทบรูก็มีแผนงานด้านการรื้อฟื้นสมุนไพรโบราณ แต่ก็ยังไม่ได้กว้างขวางเท่าใดมากนัก

ประดงขาวใช้แช่น้ำหรือฝน แล้วเอาน้ำไปทา แก้ปวดเมื่อย
วันนี้ก็พบหมอยาสมุนไพรหนุ่มคนหนึ่ง เราไม่รู้มาก่อนเลยว่าเขาเป็นผู้รู้สมุนไพร บังเอิญแท้ๆ ที่หลายสัปดาห์ก่อน พิลาพนักงานขับรถบ่นว่า ภรรยาเขาปวดหลังมาก ลุกเดินแต่ละที ยังกะคนเฒ่าคนแก่เดินหลังค่อมไปเลย ผู้นำกลุ่มผู้ใช้น้ำเราคนหนึ่งได้ยินเข้าก็บอกว่า เออ..ไปเอายาสมุนไพรไปลองดูไหม… พิลาหูผึ่ง แล้วก็ตามไปเอาสมุนไพร เป็นสมุนไพร ชื่อ “ประดงขาว” เป็นต้นไม้ยืนต้นใหญ่ เอาเปลือก ราก แก่น มาแช่น้ำ หรือฝน แล้วเอาน้ำนั้นไปทาตรงปวด พิลาบอกว่า ใช้แล้วได้ผล ภรรยาเดินดีขึ้น อาการปวดเมื่อยลดลง แม้จะยังไม่หายขาดก็ตาม แต่ดีขึ้นจริงๆ

วันนี้พิลาเลยได้ยาไปอีกอย่าง เป็นสมุนไพรรักษาริดสีดวงทวาร จากหมอยาคนเดียวกัน สำหรับญาติที่เป็นมานานและอาการหนักมากขึ้น หมอยาคนนี้บอกว่า หากไม่หายก็ไม่เอาเงิน


สมุนไพรแก้ริดสีดวงทวาร
ระหว่างเดินทางกลับ เราคุยกันว่า ชาวบ้านหลายคนไม่เคยบอกว่าตัวเองเป็นหมอยา แต่หลายคนในหมู่บ้านมีความรู้เรื่องสมุนไพร คนนี้รู้จักสมุนไพรดีสามสี่ชนิด อีกคนรู้จักสมุนไพรดี หก เจ็ดชนิด หรือบางคนรู้จักชนิดเดียว แต่มีประสบการณ์ใช้แล้วได้ผลดี… สมองคิดงานเรื่องนี้ไปเยอะแยะเลย…ทั้งรวบรวม ทั้งตรวจสอบ ทั้งสงวน อนุรักษ์ ทั้งงานวิจัย ทำระบบข้อมูล สัมมนาหมอยา … ทำแผนที่สมุนไพร ฯลฯ

ฟักข้าว พืชพื้นบ้าน ช่วยต้านมะเร็งชั้นยอด

ได้รับความนิยมในหมู่คนรักสุขภาพมาพักหนึ่งแล้ว สำหรับผักพื้นบ้านที่มีชื่อว่า "ฟักข้าว"


             


            เชื่อว่าหลายคนคงคุ้น ๆ กับชื่อนี้ แต่อาจจะยังไม่รู้ว่า "ฟักข้าว" มีประโยชน์อย่างไร ใครที่ยังไม่รู้ว่า สรรพคุณของฟักข้าวมีดังนี้

            ฟักข้าว เป็นพืชไม้เลื้อยอยู่ในวงศ์แตงกวาและมะระ มีชื่อสามัญว่า Spring Bitter Cucumber เป็นพืชที่ขึ้นตามรั้วบ้าน หรือตามต้นไม้ต่าง ๆ มีมือเกาะคล้ายกับตำลึง ใบเป็นรูปหัวใจคล้ายใบโพธิ์ ขอบใบหยักเว้าลึกเป็นแฉก 3-5 แฉก ดอกจะมีสีขาวแกมเหลือง ตรงกลางมีสีน้ำตาลแกมม่วง

            ผลของฟักข้าว 2 ลักษณะ คือ ทรงกลม และทรงรี ผลกลม ๆ จะยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร
ส่วนผลรีจะยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร ถ้ายัง เป็นผลอ่อนอยู่ ผลจะมีสีเขียวอมเหลือง มีหนามถี่ ๆ อยู่รอบผล แต่เมื่อสุกแล้ว ผลจะมีสีแดง หรือแดงอมส้ม และหากผ่าผลฟักข้าวออกดูข้างใน ก็จะเห็นเมล็ดจำนวนมากเรียงตัวกันคล้ายเมล็ดแตง แต่ละผลหนักประมาณ 0.5-2 กิโลกรัม

           หลายคนที่อยู่ต่างจังหวัดอาจจะไม่คุ้นชื่อกับ "ฟักข้าว" แต่คุณอาจจะคุ้นกับชื่อที่เรียกกันในท้องถิ่น อย่างจังหวัดปัตตานี จะเรียก "ฟักข้าว" ว่า "ขี้กาเครือ" จังหวัดตาก จะเรียกว่า "ผักข้าว" จังหวัดแพร่ เรียก "มะข้าว" เป็นต้น

           เห็นหน้าค่าตารู้จัก "ฟักข้าว" กันไปแล้ว ลองมาดูกันบ้างดีกว่า ว่า "ฟักข้าว" นำไปทำประโยชน์อะไรได้บ้าง ที่เห็นชัด ๆ เลยก็คือ คนนิยมนำผลอ่อนของฟักข้าวมาปรุงอาหาร เพราะรสชาติของฟักข้าวอร่อยออกขมนิด ๆ แต่นุ่มลิ้น และเพราะว่า "ฟักข้าว" เป็นพืชที่มีฤทธิ์เย็นเช่นเดียวกับพืชตระกูลแตง
การรับประทาน "ฟักข้าว" จึงช่วยลดความร้อนในร่างกายได้ด้วย ซึ่งวิธีปรุงอาหารจาก "ฟักข้าว" ก็ไม่ยาก แค่นำ "ฟักข้าว" มาลวก หรือต้มให้สุก แล้วจิ้มกินกับน้ำพริก หรือใส่ในแกง เช่น แกงเลียง แกงส้ม ก็ได้เมนูอร่อยเด็ดอีกจานแล้ว


ฟักข้าว ผักดี ที่คุณผู้ชายต้องใส่ใจ

 ฟักข้าว ผักพื้นบ้าน ตำนานยาเย็น
ฟักข้าวเป็นผักที่ชาวบ้านทางภาคเหนือและภาคอีสานบ้านเรากินกันอยู่เป็นประจำ โดยจะกินยอดอ่อนและผลอ่อน เป็นผักลวกนึ่งกินกับน้ำพริกหรือแกงกิน เรามักจะพบผลอ่อนและยอดอ่อนของฟักข้าววางขายอยู่ในตลาดตามชุมชนทางภาคเหนือ ในภาคอีสานนั้นชาวบ้านจะกินยอดอ่อนและผลอ่อนเป็นผักเช่นกัน โดยจะเรียกฟักข้าวว่า “หมากอูบข้าว” เนื่องจากลักษณะผลจะคล้ายคลึงกับ “อูบข้าว” ภาชนะใส่ข้าวเหนียวของคนอีสาน มีลักษณะคล้ายๆ กระติบข้าวแต่มีรูปทรงรีๆ กลมๆ นอกจากจะกินผลอ่อนและยอดอ่อนแล้ว ชาวบ้านแถวอีสานยังกินเนื้อหุ้มเมล็ดสีแดงรสจืดๆ มันๆ เป็นของทานเล่น ส่วนเนื้อในเมล็ดก็มีหมอยาบางคนเอามากินเช่นกัน แต่ไม่นิยมกินกันในวงกว้างเท่าใดนัก

ฟักข้าว ผักรวย “ไลโคพีน” กินลดความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมาก
   เมื่อไม่นานมานี้มีการเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับผักเวียดนามชนิดหนึ่ง ชื่อ “แกก (Gac)” ในการมีสรรพคุณต้านมะเร็งอย่างแพร่หลาย ผักที่ว่านี้คือฟักข้าวนั่นเอง ฟักข้าวมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน พม่า ไทย ลาว บังกลาเทศ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ แต่คนเวียดนามดูเหมือนจะนิยมกินฟักข้าวมากกว่าชนชาติอื่นๆ โดยมักปลูกฟักข้าวพาดพ้นไม้ระแนงข้างบ้าน และเก็บเฉพาะผลสุกมาประกอบอาหาร โดยจะเอาเยื่อสีแดงจากผลฟักข้าวสุกพร้อมเมล็ดมาหุงกับข้าวเหนียวทำให้ข้าวมี สีแดง ใช้ในเทศกาลปีใหม่และงานมงคลสมรสเท่านั้นเพราะเชื่อว่าสีขาวไม่เป็นมงคล ปัจจุบันพบว่าเยื่อหุ้มเมล็ดของฟักข้าวสีแดงนั้นมีสารชื่อ “ไลโคพีน” โดยจะมีสารไลโคพีนสูงสุดในบรรดาผักผลไม้ที่ให้ไลโคพีนทั้งหลาย ดังนี้ มะเขือเทศสุก ๓๑ ไมโครกรัมต่อกรัม แตงโม ๔๑ ไมโครกรัมต่อกรัม ฝรั่ง ๕๔ ไมโครกรัมต่อกรัม ส้มโอ ๓๓.๖ ไมโครกรัมต่อกรัม เยื่อเมล็ดฟักข้าว ๓๘๐ ไมโครกรัมต่อกรัม เป็นต้น
ไลโคพีน เป็นสารกลุ่มแคโรทีนอยด์ พบได้ในผักและผลไม้บางชนิด มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่น เมื่อร่างกายของเราได้รับสารต้านอนุมูลอิสระเหล่านี้ วงการแพทย์ได้พิสูจน์แล้วว่ามีผลลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหาร และที่สำคัญพบว่าไลโคพีนมักจะไปสะสมบริเวณต่อมลูกหมากและผิวหนัง อย่างไรก็ตามการต้านอนุมูลอิสระนั้นต้องทำงานกันเป็นทีม ดังนั้นควรจะรับประทานอาหารให้หลากหลาย ที่สำคัญคือรายงานการศึกษาสมัยใหม่มีความขัดแย้งกันอยู่ตลอดเวลาว่าปริมาณ สารไลโคพีนมีประโยชน์ในการป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากจริงหรือไม่ แต่เมื่อไม่นานนี้พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับสารไลโคพีนมีปริมาณของสารที่เป็นตัว ชี้วัดสุขภาพของต่อมลูกหมาก prostate-specific antigen (PSA) ลดลง ซึ่งหมายถึงสุขภาพของต่อมลูกหมากดีขึ้น ในขณะที่กลุ่มควบคุมไม่มีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นการรับประทานผักที่มีสารไลโคพีนสูงจึงมีประโยชน์ต่อผู้ชายซึ่งมักจะ มีปัญหาของต่อมลูกหมากเมื่อสูงวัยขึ้น
ปัจจุบันมีรายงานการศึกษาวิจัยของฟักข้าวต่อการรักษาและป้องกันมะเร็งใน ประเทศต่างๆ เช่นจีน พบว่าโปรตีนจากเมล็ดฟักข้าวมีความสามารถต้านอนุมูลอิสระและเพิ่มประสิทธิภาพ การทำงานของเซลล์ตับในหลอดทดลอง ประเทศเวียดนามพบว่าน้ำมันจากเยื่อเมล็ดฟักข้าวมีประสิทธิภาพในการรักษา มะเร็งตับ ประเทศไทยพบโปรตีนในเมล็ดฟักข้าวมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อเอชไอ วี-เอดส์ และยับยั้งเซลล์มะเร็งโดยจดสิทธิบัตรในประเทศไทยแล้ว
งานวิจัยอื่นในต่างประเทศพบว่า เมล็ดแก่ของฟักข้าวมีโปรตีนมอร์มอโคลซิน-เอส และโคลซินิน-บี มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของไรโบโซมซึ่งเป็นแหล่งผลิตกรดอะมิโน และต้านการเจริญของเซลล์มะเร็งหลายชนิดในหลอดทดลอง ซึ่งอาจนำไปใช้พัฒนาเภสัชภัณฑ์ต้านมะเร็งได้ในวันข้างหน้า ประเทศญี่ปุ่นทำการวิจัยพบว่า โปรตีนจากสารสกัดน้ำของผลฟักข้าวยับยั้งการเจริญของก้อนมะเร็งลำไส้ใหญ่ใน หนูทดลอง และน้ำสกัดผลฟักข้าวยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งตับและมะเร็งลำไส้ใหญ่โดย ทำให้เซลล์แตกตาย จากการศึกษาที่ผ่านมาจะเห็นว่าในส่วนที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็งนั้นมาจากสาร โปรตีนในเมล็ดแก่ น้ำมันจากเยื่อหุ้มเมล็ด น้ำสกัดจากผล แต่ในส่วนของเนื้อในเมล็ดนั้น เนื่องจากไม่มีการรับประทานกันทั่วไปอย่างกว้างขวาง จึงควรที่จะต้องศึกษาหาความปลอดภัยก่อนที่จะนำมาใช้กิน ส่วนเยื่อหุ้มเมล็ดนั้นมีการทำเป็นเครื่องดื่มออกจำหน่ายกันบ้างแล้วในต่าง ประเทศ สำหรับท่านที่ปลูกฟักข้าวไว้ ก็อาจจะรวบรวมสารเยื่อหุ้มเมล็ดตากเก็บไว้ชงน้ำกินเป็นเครื่องดื่มบำรุงสาย ตา บำรุงสุขภาพก็ได้ ในส่วนที่เป็นผลนั้นชาวบ้านกินกันโดยทั่วไปอยู่แล้ว ดังนั้นการปลูกการกินฟักข้าวมีแต่ประโยชน์กับประโยชน์



ฟักข้าว ยาเย็นแก้ไข้ แก้พิษ
ฟักข้าวเป็นสมุนไพรที่นิยมใช้เป็นยาดับพิษร้อนถอนพิษไข้ มักจะพบการใช้เถา ราก หรือใบ เป็นส่วนประกอบของการรักษา การถอนพิษผิดสำแดง ดับพิษไข้ทั้งปวง แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้พิษอักเสบ แก้กษัย แก้พิษฝี แก้ฝีในท้อง แก้ปวดบวม ดูดหัวฝี แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ฆ่าเหา รวมทั้งใช้สระผมแทนแชมพู ส่วนของเมล็ดก็นิยมใช้เป็นยาทาภายนอกโดยตำผสมกับน้ำมันงาหรือน้ำมันมะพร้าว ในการรักษาหูด อาการอักเสบบวม กลากเกลื้อน ฝี อาการฟกช้ำ อาการผื่นคันและโรคผิวหนังติดเชื้อต่างๆ
ฟักข้าว อาหารพื้นบ้าน ใครทานก็ติดใจ
ผลฟักข้าวอ่อนสีเขียวรสชาติเหมือนมะละกอดิบ นิยมลวกหรือต้มให้สุก ต้มกะทิจิ้มน้ำพริก แจ่ว ป่น ลาบหรือแกงกิน ยอดอ่อน ใบอ่อนเช่นกันกับยอดบวบ ยอดฟักทอง นำมานึ่งหรือลวกให้สุกกินกับน้ำพริก แจ่ว ป่น ลาบ หรือนำไปปรุงเป็นแกง เช่น แกงแค ผลสุกกินได้รสหวานปะแล่มๆ แต่เนื้อน้อยกว่าแตงไทยมาก เยื่อหุ้มเมล็ดนิยมนำมากินเล่น รสจืดๆ มันๆ สัตว์ป่าจำพวกหมูหริ่ง เก้ง บ่าง ชอบมากินผลสุกที่ร่วงลงมา แล้วช่วยกระจายพันธุ์ให้กับฟักข้าวในธรรมชาติ


” ฟักข้าวเป็นผักพื้นบ้านที่คนปัจจุบันหันกลับมาให้ความสำคัญกันมากด้วยกลัว การเป็นมะเร็ง นับเป็นปัญหาสุขภาพที่คร่าชีวิตคนไทยไปปีละไม่น้อยกว่า ๖๐,๐๐๐ คน นับว่าเป็นสิ่งที่ดีที่จะทำให้คนไทยได้หันกลับมาศึกษาภูมิปัญญาของปู่ย่าตา ยาย เพื่อนำมาปรับใช้กับสังคมสมัยใหม่อย่างรู้เท่าทันและเข้าใจ ”



บ้านนี้มีที่จอดรถเป็นซุ้มต้น "ฟักข้าว" : เรียนรู้วิถีชีวิตพอเพียงที่ จ.นครปฐม

เมื่อ วันหยุดสุดสัปดาห์ ผมและครอบครัวได้มีโอกาสเดินทางไปเที่ยวที่สวนฟักข้าว ที่ ต.ทุ่งขวาง อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ซึ่งผมเองได้มาครั้งหนึ่งแล้ว (อ่านเรื่องเก่า คลิกที่นี่) หลังจากกลับบ้านไป ผมก็เล่าให้เด็กๆ ฟังเกี่ยวกับสวนฟักข้าวของตานะและยายเจี๊ยบ ที่ปลูกในพื้นที่ 1.5 ไร่สวยงามมาก ลูกๆ ผมจึงอยากมาชมกันบ้าง ผมเลยพาเด็กๆ มาชมสวนฟักข้าวพร้อมกับเพื่อนๆ กันในวันนี้ไงละครับ 
 
เมื่อ นำรถเข้ามาจอด เด็กๆ ตื่นตาตื่นใจกับโรงจอดรถของตานะที่เป็นต้นฟักข้าว แถมยังมีลูกฟักข้าว ที่ห้อยย้อยอยู่บนหัวเต็มไปกันไปหมดเลย ตาชนะ(หรือตานะ) กำลังเดินมาต้อนรับครับ (ส่วนยายเจี๊ยบ ภรรยาอยู่ในบ้าน)

ตา นะยังดูแข็งแรงเหมือนเดิม ถึงแม้อายุ 74 ปีแล้ว (ยายเจี๊ยบอายุ 58 ปี) ตานะได้กล่าวต้อนรับทุกคน และท่านยังจำผมได้ว่าเคยมาครั้งหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้ (สงสัยมีโหงวเฮ้งดีเลยจำผมได้)
ปกติ ที่สวนฟักข้าวแห่งนี้จะมีนักท่องเที่ยวมาชมสวนเป็นประจำ แต่วันนี้ช่างโชคดีสำหรับครอบครัวผมที่ไม่มีคนมาเลย จะได้คุยกับตานะและยายเจี๊ยบได้อย่างเต็มที่
ตา นะได้เล่าประวัติส่วนตัวคร่าวๆ ก่อนที่จะมาปลูกฟักข้าวที่นี่ว่า ก่อนเกษียณเคยทำงานเป็นข้าราชการกทม. และเมื่อเกษียณแล้วก็ไปเปิดร้านอาหารที่สามพราน (แถววัดไร่ขิง) จ.นครปฐม ทำได้ 3-4 ปียอดขายกำลังดี แต่ไม่อยากทำแล้วก็เลยขายร้าน และนำเงินมาซื้อที่ดินและปลูกบ้าน และทำสวนในเนื้อที่ 1.5 ไร่ตรงนี้
ทุก วันนี้ตานะบอกว่าสบายแล้วไม่มีปัญหาทางด้านการเงิน อีกทั้งไม่มีลูกที่ต้องดูแล ชีวิตจึงขอใช้ชีวิตในบั้นปลายอยู่อย่างพอเพียง ไม่ฟุ้งเฟ้อแค่นี้ชีวิตก็อยู่แบบสบายๆ แล้วละครับ 
ตา นะยังบอกอีกว่า เมื่อทั้งตานะและยายเจี๊ยบเสียชีวิตแล้ว ที่ดิน (รวมทั้งเงินทอง) ที่มีอยู่จะมอบให้กับ บ้านพักคนชราในจังหวัดนครปฐม เพื่อใช้ให้ประโยชน์กับคนชราต่อไป ดังนั้นผลผลิตทุกชิ้นที่ขายได้ในสวนแห่งนี้ ก็เหมือนเป็นการร่วมทำบุญไปกับตานะและยายเจี๊ยบด้วยกันนะครับ

การ ปลูกฟักข้าวของตานะได้มีการปลูกแบบไร้สาร ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ผู้ที่คอยแนะนำให้กับตานะก็คือ ผู้ใหญ่สุธรรม จันทร์อ่อน (อ่านเรื่องแนวคิดการทำสวนแบบเศรษฐกิจพอเพียงของผญ.สุธรรม เรื่องเก่าเรื่องที่ 1 คลิกที่นี่)  เรื่องเก่าเรื่องที่ 2 คลิกที่นี่)  

ใน ย่านต.ทุ่งขวาง อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม มีคนปลูกฟักข้าวจำนวนมาก มีการรวมกลุ่มผู้ปลูกฟักข้าวปลักไม้ลาย แต่สวนของตานะจะแตกต่างจากที่อื่นก็คือ ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี และยาฆ่าแมลงที่จะทำให้เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

 ฟักข้าว มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายสูงมาก เช่น Beta Carotene , Lycopene, Vitamin A, Olieic acid, Palmitic acid, Linoleic, Omega-6, Omega-3 ฯ จึงเป็นการเสริมอาหารให้กับร่างกายได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน สามารถลดความเสี่ยงและป้องกันอาการ ดังต่อไปนี้
- ช่วยต้านอนุมูลอิสระ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
- ช่วยป้องกันการติดเชื้อ
- ช่วยลดความเสี่ยงจากโรคโลหิตจาง
- ช่วยป้องกันและรักษาอาการตับอักเสบ
- ช่วยกระตุ้นพัฒนาการและการเติบโตของเด็กให้แข็งแรง
- ช่วยป้องกันเยื่อนัยน์ตาแห้งที่มีสาเหตุจากสารสำคัญในเรติน่า
- ช่วยป้องกัน และบรรเทาการาขาดวิตามิน และสารอาหารต่างๆ ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
- ช่วยชะลอความแก่ ป้องกันผิวหนังแห้งตกสะเก็ด บำรุงผิวพรรณให้เรียบเนียน แลดูมีสุขภาพดี
- ช่วยให้อัตราการเผาผลาญพลังงานสม่าเสมอ และเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมอาหารได้ดียิ่งขึ้น
- ช่วยลดระดับคลอเรสเตอรอลในเลือด ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ และช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
- ช่วยป้องกันและรักษาการติดเชื้อจากการใช้รังสี ได้รับสารพิษจากการที่บริโภคมากเกินไป และสารพิษต่างๆ ที่ปนเปื้อนอยู่ในผัก ผลไม้เนื้อสัตว์ต่างๆ ทั้งนี้ยังช่วยปรับสภาพร่างกายให้ฟื้นฟูโดยเร็ว และป้องกันการเกิดสารมะเร็ง

ใน เนื้อที่ 1.5 ไร่ตานะจะปลูกฟักข้าวประมาณ 1 ไร่และทำเป็นซุ้มรอบบ้านอย่างสวยงาม ฟักข้าวในภาพนี้ สียังเขียวแสดงว่ายังเป็นฟักข้าวที่อ่อนอยู่ สามารถนำมาทำอาหารคล้ายๆ ฟักได้ รสชาติอร่อยมากครับ

ตานะได้ปลูกฟักข้าวรุ่นแรกได้ประมาณ 2-3 ปีแล้ว ดูไปคล้ายๆ เถาวัลย์เลยนะครับ

ระบบน้ำที่ตานะใช้ในสวนฟักข้าวนี้ จะใช้ระบบน้ำสปริงเกอร์ โดยมีการตั้งการเปิดปิดอัตโนมัติ

และ ในระบบการให้น้ำในสวน ถ้าตานะต้องการจะให้ปุ๋ยก็จะนำปุ๋ยชีวภาพที่หมักใช้เองมาใส่ในน้ำ ก่อนที่จะส่งไปทางระบบน้ำสปริงเกอร์ ดังนั้นจึงมั่นใจในฟักข้าวของสวนตานะว่าไม่ใช้สารเคมีแน่ๆ

นอกจากนี้ตานะยังพาไปชมผักสวนครัวหลากหลายที่ปลูกในยางรถยนต์ เวลาจะทำอาหารก็มาเด็ด ไม่ต้องไปซื้อ

ตานะชวนให้ดูต้นเสารส (กระทกรกฝรั่ง (Passion Fruit)) เพิ่งปลูกได้ไม่นานยังไม่มีผลผลิต แต่อีกไม่นานคงจะมีลูกให้ได้ลิ้มลอง ตานะบอกว่าน้ำเสารสจะไปผสมใส่ในน้ำฟักข้าวจะอร่อยมากๆ เลย

ต้น เสารสมีการปลูกไว้ในกระถาง และนำไปชำในถุงพลาสติกต่อไปจำนวนมาก ตานะบอกว่ามีคนขายมาให้ปลูกชำเอาไว้ และเมื่อต้นแข็งแรงจะมารับซื้อในภายหลัง

ตานะยังได้หมักน้ำผลไม้ (สูตรป้าเช็ง) ซึ่งหมักมา 2-3 ปีแล้ว และนำมาดื่มทุกเช้า วันละ 1 แก้ว สุขภาพร่างกายแข็งแรงดีขนาดอายุ 74 แล้ว ยังแข็งแรงกว่าตอนหนุ่มๆ อีก

วันนี้ ตอนช่วงเช้าก่อนผมจะมา ตานะได้เก็บฟักข้าวที่จะส่งตลาดไปหมดแล้ว เหลือแต่ฟักข้าวที่พอจะทานได้ในอีก 2-3 วันข้างหน้า ผมเลยให้ตานะช่วยเก็บฟักข้าวให้ผมสัก 3-4 กก. (@ 30 บาท) หน้าตาของฟักข้าวไม่แจ่มแดงเหมือนที่เคยเห็น แต่ตานะบอกว่า ปล่อยไว้ 2-3 วันก็ทานได้

 
และ ในช่วงที่ผมไป คุณยายเจี๊ยบภรรยาของตานะกำลังจะทำน้ำฟักข้าวส่งให้กับพ่อค้า (ที่เป็นญาติกัน ส่งไปขายที่โรงงานยาสูบ ในกรุงเทพฯ) ประมาณ 100 ขวด ก็เลยได้เห็นฟักข้าวสีแดงสดที่จะนำมาทำน้ำฟักข้าว 

ภรรยา และเด็กๆ ได้ช่วยยายเจี๊ยบทำน้ำฟักข้าว ยายเจี๊ยบได้สอนวิธีการทำน้ำฟักข้าวให้กับคุณภรรยาและเด็กๆ มีโอกาสคงได้นำมาเสนอเพื่อนๆ ในโอกาสต่อไปครับ

น้ำฟักข้าวจะมีการนำไปตั้งบนเตาให้ร้อน แต่ตอนนี้ยายเจี๊ยบยกลงมาให้เย็นก่อนสัก 1-2 ชม. 

เมื่อ เย็นแล้วขั้นต่อไป ก็จะนำมามะนาวมาใส่ลงไปให้มีรสเปรี้ยวเล็กน้อย ยายเจี๊ยบบอกว่าถ้าจะให้อร่อยต้องใส่น้ำเสารส แต่ตอนนี้ต้นยังเล็ก ยังไม่ออกลูก เลยขอใช้มะนาวไปก่อน

ยายเจี๊ยบได้สอนวิธี การทำมะนาวไม่ให้ขมเมื่อบีบน้ำมะนาว วิธีก็คือนำน้ำร้อนไปใส่ในมะนาวที่จะบีบ แช่แค่ 1 นาทีแล้วเอาขึ้นเลย มะนาวที่ได้เวลาบีบก็จะไม่ขม ยายเจี๊ยบบอกได้สูตรนี้มาตอนทำร้านอาหารเมื่อหลายปีก่อน

จากนั้นมือคั้นมะนาวมือ 1 ประจำบ้านนี้ก็คือลุงนะ ก็ผ่ามะนาวแบ่งครึ่ง และคั้นดังภาพ มะนาวที่ได้ไม่มีรสขมเลยครับ

เมื่อได้น้ำมะนาวคั้นมาแล้ว ยายเจี๊ยบก็ทำการปรุงรสด้วยการใส่น้ำมะนาวลงไปในน้ำฟักข้าว

 เมื่อเสร็จแล้วยายเจี๊ยบก็บรรจุน้ำฟักข้าวใส่ขวด เด็กๆ ได้ช่วยกันปิดฝาและนำน้ำฟักข้าวที่อยู่ในขวดพลาสติก เพื่อนำไป ...

น็อค ในน้ำธรรมดา (ยายเจี๊ยบบอกว่าจะน็อคในน้ำธรรมดาก็ได้ หรือในน้ำที่ทีน้ำแข็งก็ได้) ก็เป็นอันเสร็จกระบวนการทำน้ำฟักข้าว 100 ขวด และเตรียมขายให้กับพ่อค้าที่จะมารับไปขายต่อไป

ทำ เสร็จ ยายเจี๊ยบได้ให้รางวัลเด็กๆ ที่ช่วยเหลือ ก็เป็นสบู่ที่ทำมาจากมะขามและเปลือกมังคุด เนื่องจากยายเจี๊ยบไปเรียนการทำสบู่ เพื่อที่จะนำความรู้มาประยุกต์ในการทำ ....

สบู่ ฟักข้าว ซึ่งสรรพคุณช่วยบำรุงผิวหน้าให้นุ่ม ชุ่มชื้น ขาวใส ไร้ฝ้า คุณยายเจี๊ยบบอกว่าสบู่ที่ทำจะไม่ยุ่ยเพราะเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพดีมาใช้ ถ้าเพื่อนๆ สนใจก็ติดต่อตามเบอร์โทรศัพท์ในรูปนะครับ (ก้อนละ 60 บาท) ส่วนผมนำมาใช้แล้วบอกได้เลยว่า คราวหน้าต้องซื้อมาหลายก้อนแน่ๆ เพราะใช้ดีมากครับ

นอกจากนี้ยายเจี๊ยบยังนำแชมพูมะกรูดที่ทำใช้กันเองภายในบ้านมาให้ชม ยายเจี๊ยบยังชักชวนว่า ถ้าว่างเมื่อไหร่ก็มาเรียนทำแชมพูกันนะ

ยาย เจี๊ยบกำลังอธิบายการเก็บสะสมเมล็ดพันธุ์พืชผักที่อยู่รอบๆ บ้านไว้ใช้ปลูกในรุ่นต่อไป ในภาพจะเป็นเมล็ดถั่วเขียวแดง ตอนนี้ปลูกแค่ 1-2 ต้นแต่ค่อยๆ เก็บเมล็ดพันธุ์จนใส่ถุงไว้ได้ตั้ง 1 ถุงใหญ่ๆ  

เด็กๆ บอกขอไปถ่ายรูปกับลูกฟักข้าวสวยๆ ที่หน้าบ้านก่อนกลับบ้าน ทั้งพี่ทั้งน้องเลยสลับกันถ่ายรูปให้ซึ่งกันและกัน ส่วนผมก็ยังคุยอยู่กับตานะและยายเจี๊ยบอยู่เลย 

ก่อนขึ้นรถกลับบ้าน ขอถ่ายภาพรูป ซุ้มที่จอดรถที่เป็นซุ้ม "ฟักข้าว" หน่อยนะครับ เพราะสวยแปลกตาดี
ผม มาถึงที่นี่ประมาณ 10 โมงครึ่งตอนนี้เวลาเที่ยงครึ่งแล้ว โอ้โห..ผมคุยกับตานะและยายเจี๊ยบเกือบ 2 ชั่วโมง เด็กๆ บอกหิวข้าวกลางวันแล้ว ผมเลยขอตัวตานะและยายเจี๊ยบเพื่อพาเด็กๆ ไปทานอาหารกลางวันก่อน มีโอกาสจะมาเยี่ยมเยียนและมาคุยกันใหม่
การมาคุยในวันนี้ ผมและครอบครัวได้รู้จักวิถีชีวิตที่พอเพียงของสองตายาย อีกทั้งยังได้ความ รู้การปลูกฟักข้าว การทำน้ำฟักข้าว การทำสบู่ และอื่นๆ อีกมากมายหลายอย่างมาก ซึ่งวิชาความรู้ที่ตานะและยายเจี๊ยบมีอยู่ ท่านทั้งสองไม่ปิดบังวิชากันเลย เพราะท่านบอกว่าถ้าชีวิตนี้ตายไปแล้วความรู้ที่มีอยู่ก็จะหายตามไปด้วย สู้มาถ่ายทอดเป็นวิทยาทานให้กับผู้อื่นจะดีกว่า ได้บุญอีกด้วย

ถ้าเพื่อนๆ มีโอกาสมาที่นครปฐม อย่าลืมแวะมาเยี่ยมสวนฟักข้าว และมาคุยกับคุณตานะและยายเจี๊ยบนะครับ ?
หมายเหตุ ตอนช่วงเช้าก่อนไปสวนฟักข้าวได้พบ bg-pizza หรือครูตุ๊กที่ อ.กำแพงแสนด้วย ชวนครูตุ๊กไปด้วยแต่ติดภารกิจทำฟัน